4 ขั้นตอนรวบรัดการทำ SEO ที่ถูกต้อง


07/2016

เมื่อเราอยากจะลองทำ SEO ดูสักครั้ง อย่างแรกเราจำเป็นต้องวางแผนและจัดอันดับว่าจะทำอะไรก่อนหลังให้ดี ไม่งั้นพอเริ่มทำไปได้สักครึ่งทางแล้วจะปวดหัวแน่ ต้องมาแก้กันยาว ในงานทุกอย่าง หากเรารู้จักคิดแผนในหัวคร่าวๆ แล้วลงมือวาดมันออกมา ย่อมทำให้งานชิ้นนั้นเสร็จได้ไว้ยิ่งขึ้น เนื้องานที่ออกมาก็ดีเช่นเดียวกัน เรามาดูขั้นตอนการทำ SEO ที่ถูกต้องกันหน่อยดีกว่า

1.ค้นหาคีย์เวิร์ด

จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย เพราะคีย์เวิร์ดถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่สุด เราต้องเลือกคีย์เวิร์ดให้เหมาะสมกับธุรกิจของเรา เช่น กิจการเราทำเกี่ยวกับร้านอาหาร และมีเพียงสาขาที่ภูเก็ตแห่งเดียว การเลือกคีย์เวิร์ดว่า “ร้านอาหารภูเก็ต” ย่อมเป็นคำที่เหมาะสมกว่าใช้คำว่าร้านอาหารเฉยๆ เพราะมันกว้างเกินไป ยิ่งคีย์เวิร์ดกว้างเท่าไหร่ ก็ยิ่งเจอคู่แข่งเยอะขึ้นเป็นเงาตามตัว และถ้าธุรกิจเราไม่สามารถทำเงินได้ดีพอในคีย์เวิร์ดกว้างๆ จะมัวไปเสียเวลาแข่งทำไม นอกจากนี้ หากใส่เพิ่มเป็น “แนะนำร้านอาหารภูเก็ต” ก็อาจจะยิ่งตรงกับกลุ่มเป้าหมายเรามากขึ้นและคู่แข่งจะลดลงอีก คนที่จะเดินทางมาเที่ยวภูเก็ตอาจมีการใช้คำนี้ในการค้นหาด้วย ซึ่งข้อนี้เราก็ต้องไปดูสถิติจริงในเครื่องมือ Keyword Planner ของ Google ว่ามีคนค้นหาเยอะหรือน้อยแค่ไหน ส่วนคีย์เวิร์ดทำเงินในกลุ่มพนันก็จะมีคำว่า W88 ที่นิยมกัน

2.วิเคราะห์คู่แข่งจากหน้า Search Engine Results Page

เมื่อได้คีย์เวิร์ดมาแล้ว สิ่งต่อมาก็ต้องเอาคีย์มาค้นหาดูก่อน แล้ววิเคราะห์ปริมาณของคู่แข่งว่าเยอะหรือน้อยแค่ไหน หากเจอเว็บใหญ่มาอยู่ติดหน้าแรกเยอะๆ ก็ถือว่ามีการแข่งขันยากพอสมควร แต่อย่าพึ่งถอดใจไป เพราะคีย์เวิร์ดส่วนใหญ่ พวกเว็บใหญ่ก็จะมีอันดับกันอยู่แล้วหลายคีย์ ถึงแม้เราจะเป็นเว็บไซต์เล็กๆหรือพึ่งเปิดเว็บใหม่ก็ตาม ก็สามารถพุ่งทยานติดอันดับ 1 ในผลการค้นหาได้

ณ เวลาที่เขียนข้อมูลนี้ จากการสังเกตุจะพบว่าเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมในหมู่มาก เวลาเว็บเหล่านี้เขียนเนื้อหาใหม่ Google มักจะนำมาจัดอันดับให้ไวกว่าและอันดับดีกว่าเนื้อหาใหม่ของเว็บรายย่อย แต่เว็บรายย่อยก็สามารถแซงได้ไม่ยากนัก หากในหน้าของเว็บใหญ่ที่ติดอันดับนั้นไม่ได้มีการส่งเสริมด้าน Off Page SEO สักเท่าไหร่ การจะวิเคราะห์ว่ามีความแข็งแกร่งในเรื่องของ Off Page มากน้อยแค่ไหนก็ต้องเอาไปวัดดูจากเว็บเช็ค Backlink หรือเว็บอื่นๆที่มีบริการ Spy คู่แข่ง ข้อมูลตรงนี้จะไม่ขอเขียนในบทความนี้ เพราะเรื่องของการวิเคราะห์เว็บคู่แข่งอย่างเจาะลึกมันจะยาวเกินไป สามารถเขียนเป็นหนังสือเล่มโตได้เลย เอาเป็นรู้คร่าวๆก่อนแล้วที่เหลือหากมีโอกาสจะนำมาแบ่งปันเพิ่มเติมให้ในภายหลังสำหรับส่วนนี้นะครับ

3.Search Engine Optimisation On Page

เมื่อเลือกได้แล้วว่าจะทำคีย์เวิร์ดไหน “เอาวะ ลองสักตั้ง” สิ่งต่อมาก็คือการปรับเว็บไซต์ให้เกี่ยวเนื่องกับคีย์เวิร์ดเราให้มากที่สุด โดยอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสม ที่เขียนแบบนี้เพราะหากบอกแค่ว่าเกี่ยวข้องกันให้มากระหว่างเนื้อหากับคีย์เวิร์ด เคยเห็นบางคนเล่นสแปมคำค้นหารัวๆในเว็บ เช่นจะทำคำว่า “ร้านอาหารภูเก็ต” ก็เล่นใส่คำนี้ลงหน้าเว็บหว่านเป็นร้อยคำซ้ำๆ แบบนี้บางทีหากบอท Search Engine มาเก็บ มันอาจจะเอาไปทำอันดับดีให้เหมือนกัน เคยเห็นและทดลองทำไปอยู่บ้าง แต่ท้ายที่สุดเว็บที่ใช้วิธีนี้จะโดนแบนกันถ้วนหน้า เมื่อเว็บ Search Engine มีการอัพเดทอัลกอริทึ่มใหม่ เว็บที่เข้าข่ายสแปมก็จะไม่ค่อยรอดกัน เพราะเป็นเนื้อหาที่ไม่มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ไม่มีเหตุผลที่จะทำให้เว็บเหล่านี้อันดับดี

ถ้าไม่อยากมาปั้นเว็บทำใหม่อยู่เรื่อยๆก็ควรจะทำอย่างใจเย็น เขียนเรื่องราวที่ดีต่อผู้ใช้งาน และเกี่ยวข้องกับคำค้นหาที่เราเลือกมาทำ SEO พร้อมทั้งดูแลเว็บอย่างสม่ำเสมอ ให้ปลอดภัยจากพวก Hacker และปรับโครงสร้างเว็บให้ผู้ใช้งานดูผ่านอุปกรณ์ได้หลากหลายยิ่งขึ้น เมื่อเว็บเรามีเนื้อหาที่ดี หน้าเว็บโหลดไวขึ้น รองรับการเข้าใช้งานจากหลายอุปกรณ์ นั่นเป็นสัญญาณว่าเว็บเรามีโอกาสขึ้นหน้าแรกของการค้นหาในคีย์เวิร์ดที่ต้องการแล้ว

4.Search Engine Optimisation Off Page

ถ้าเรียกแบบภาษาคนทั่วไปเข้าใจง่าย คือการโปรโมทเว็บเราให้ดัง จะโปรโมทช่องทางไหนก็ได้ที่สามารถทำให้เว็บเราเป็นที่รู้จักมากที่สุด ช่องทางยอดนิยมในยุคนี้คงจะเป็นแหล่ง Social Network อย่าง Facebook, Twitter, Instagram เป็นต้น ยิ่งเข้าถึงผู้ใช้งานมากเท่าไหร่ โอกาสที่เว็บเราจะถูกแชร์ต่อๆไปก็มีมากขึ้นหากเว็บของเราสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ช่องทางที่จะทำการโปรโมทได้อีกก็คือการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเว็บของเรา แล้วเข้าไปโปรโมทผ่านเว็บเหล่านี้ มันเป็นเรื่องที่ดีหากเว็บไซต์ของเราเนื้อหาเกี่ยวข้องกับร้านอาหาร และได้รับลิงค์จากเว็บท่องเที่ยวหรือเว็บรีวิวร้านอาหาร เพราะมันจัดอยู่ในหมวดเดียวกัน คะแนนที่ทาง Search Engine ให้ต้องมากกว่าการได้รับลิงค์ย้อนกลับจากเว็บทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว และข้อควรระวังคือพยายามอย่าไปสร้างลิงค์ในเว็บที่ดูไม่น่าเชื่อถือ เว็บที่โดนคนยำจนเละเทะ ในศัพท์ทาง SEO จะเรียกเว็บเหล่านี้ว่า Spam หากมีลิงค์จากเว็บขยะเหล่านี้กลับมามากๆ มันก็จะทำให้ Search Engine เข้าใจว่าเว็บเราก็เป็น 1 ในขยะเหล่านั้นเช่นเดียวกัน เลี่ยงไว้เป็นการดีที่สุด

หากเราทำ 4 ขั้นตอนข้างต้นอย่างมีระเบียบวินัยและสม่ำเสมอ ผู้เขียนเองยังไม่เห็นเลยว่าจุดที่จะทำให้เว็บไม่มีอันดับคือตรงข้อไหน ลองมองย้อนกลับไปที่เว็บ Search Engine เขาต้องการเว็บคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้งานพึงพอใจในผลการค้นหาที่ได้ ถ้าเราทำเว็บคุณภาพและเป็นประโยชน์ เมื่อเวลาผ่านไป มีหรือจะไม่ติดอันดับ รู้แบบนี้ก็รีบลงมือทำกันได้แล้ว